รับออกแบบ ประกอบ ตู้ Control ตู้ MDB
ประเภทของตู้
- ตู้คอนโทรล (ตู้ control) หรือ ตู้ควบคุม คือ ล่องที่ทำหน้าที่เป็นจุดศูนย์รวมในการควบคุมระบบไฟฟ้าที่หลายแหล่ที่อยู่ในที่พักอาศัย อาคาร สำนักงาน ไปจนถึงโรงงานขนาดใหญ่ ตัวตู้จะถูกติดตั้งเอาไว้เพื่อช่วยให้สามารถควบคุมระบบการทำงานของไฟฟ้าได้ง่ายขึ้น
ตู้คอนโทรล จ่ายกระแสไฟฟ้าไปยังส่วนต่างๆ ของเครื่องจักร หรืออุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ ตู้คอนโทรลมีหลายแบบ ลูกค้าสามารถประกอบตู้คอนโทรล ไว้ในงานต่างๆ ที่ต้องการคอนโทรลได้ เช่นการ คอนโทรลมอเตอร์ ควบคุมปั๊มน้ำ และยังประกอบตู้สำหรับใช้คอนโทรลเครื่องจักร
ซึ่งแบ่งตู้คอนโทรล ได้ตามลักษณะการใช้งาน และตามขนาดตู้คอนโทรลที่ใช้ในงานซึ่งมีหน้าที่แตกต่างกันออกไป
- ตู้ MDB (Main distribution board) เป็นตู้รับไฟฟ้าหลักจากหม้อแปลงไฟฟ้าแรงดันต่ำเข้ามาในระบบ แล้วกระจายออกไปยังส่วนควบคุมไฟฟ้าย่อยส่วนต่างๆของโรงงานอุตสาหกรรม หรือของอาคารนั้นๆ ใช้ในอาคารขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ หรือโรงงานอุตสาหกรรม ที่มีการใช้ไฟฟ้าเป็นจำนวนมาก ซึ่งมีความอันตรายสูง มีหน้าที่ควบคุมการจ่ายและรับไฟฟ้า จากระบบการไฟฟ้า เครื่องกำเนิดไฟฟ้า หรือหม้อแปลงไฟฟ้าที่เข้ามาภายในอาคาร รวมถึงป้องกันความเสียหายต่าง ๆ ที่เกิดจากความผิดปกติของระบบไฟฟ้า เช่น ไฟฟ้าลัดวงจร แรงดันไฟฟ้าเกิน แรงดันไฟฟ้าตก
ส่วนประกอบของตู้ MDB
1. โครงตู้ (Enclosure) เป็นส่วนประกอบหลักซึ่งทำหน้าที่ยึดตัวอุปกรณ์ต่าง ๆ ไว้ภายในตู้ ป้องกันสิ่งต่าง ๆ ที่อาจทำให้เกิดความเสียหายให้กับอุปกรณ์ภายในได้ รวมถึงป้องกันไม่ให้ผู้ใช้งานสัมผัสส่วนที่มีกระแสไฟภายในตู้
3.เซอร์กิต เบรกเกอร์ (Circuit Breaker) เป็นอุปกรณ์ที่ไว้ป้องกันด้านความปลอดภัย ในกรณีเกิดความผิดปกติภายในระบบ โดยเซอร์กิตเบรกเกอร์จะทำหน้าที่ตัดวงจรไฟฟ้าเมื่อมีกระแสไหลผ่านเกินกว่าค่าที่กำหนด หรือเกิดไฟฟ้าลัดวงจร การเลือกใช้งานเซอร์กิตเบรกเกอร์ ควรเลือกให้เหมาะสมกับการใช้งาน ไม่ว่าจะเป็น ขนาดของเซอร์กิตเบรกเกอร์ควรเลือกความกว้าง ความยาว ความสูง ให้พอดีกับตู้เพื่อให้ติดตั้งได้อย่างเป็นระเบียบและสวยงาม รวมถึงควรพิจารณาค่าต่างๆไม่ว่าจะเป็น การตัดกระแสลัดวงจร (IC) ค่าพิกัดกระแส (AT) ค่าพิกัดกระแสโครงสร้าง (AF) ระยะเวลาในการตัดวงจร (Time) ขนาดพิกัดไฟรั่ว (I∆N) ให้เหมาะสมกับความต้องการใช้งาน
4.เครื่องวัดไฟฟ้า (Meter) เป็นเครื่องวัดพื้นฐานที่ใช้ในตู้ MDB ประกอบด้วย โวลต์มิเตอร์ ใช้วัดแรงดันไฟฟ้าภายในวงจร ซึ่งพิกัดแรงดันของโวลต์มิเตอร์คือ 0-500V และแอมมิเตอร์ใช้วัดปริมาณ กระแสไฟฟ้าในวงจร กระแสของแอมมิเตอร์จะขึ้นอยู่กับอัตราส่วนเคอเรนส์ทรานฟอเมอร์ (Current Transformer) โดยโวลต์มิเตอร์และแอมมิเตอร์ จะใช้งานร่วมกับซีเล็คเตอร์สวิทช์ (Selector Switch) และหากตู้ MDB มีขนาดใหญ่จะมีอุปกรณ์เพิ่มเติมขึ้นอยู่กับการออกแบบ เช่น เพาเวอร์แฟคเตอร์ มิเตอร์ (P.F. Meter), วัตต์มิเตอร์ (Watt Meter), หรือวาร์มิเตอร์ (Varmeter)
5.อุปกรณ์ประกอบ (Accessories) การใช้งานตู้ MDB ควรมีอุปกรณ์ประกอบอื่น ๆ เพิ่มเติมเพื่อความสะดวก และความปลอดถัยในการใช้งาน เช่น CT (Current Transformer) ใช้ต่อร่วมกับแอมป์มิเตอร์เพื่อใช้วัดค่าพิกัดกระแสแต่ละเฟส, Selector Switch ใช้ร่วมกับโวลต์มิเตอร์และแอมมิเตอร์ เพื่อวัดแรงดันและกระแสในแต่ละเฟส และควบคุมทิศทางของกระแสไฟฟ้าให้ได้ตามทิศทางที่ต้องการ, Pilot Lamp หลอดไฟแสดงสถานะ เพื่อแสดงให้ทราบว่าตู้ MDB มีการทำงานอยู่หรือไม่, Fuse เป็นหลอดเเก้วใช้ป้องกันการลัดวงจรเครื่องวัดไฟฟ้า รวมถึงตัดกระแสไฟออกจากวงจรเพื่อป้องการอุปกรณ์เสียหาย






